แพทย์ เผย ฝุ่น PM 2.5 สุดอันตราย แทรกซึมเข้ารูขุมขนได้

แพทย์เผย ฝุ่น PM 2.5 สุดอันตราย แทรกซึมเข้ารูขุมขนได้ 

วิกฤตฝุ่นพิษทำป่วยภูมิแพ้-หอบหืด เข้า รพ.เพิ่มอีกร้อยละ 10 แพทย์เผยสุดอันตราย อณูเล็กจนแทรกซึมเข้ารูขุมขนได้ มีผลกับทุกอวัยวะในร่างกาย เชื่อทำอายุเฉลี่ยคนในชุมชนลดลง

วันที่ 12 มี.ค. 62 สถานการณ์มลพิษหมอกควันในจังหวัดชียงใหม่ ยังคงอยู่ในขั้นวิกฤต ล่าสุดพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับผลกระดมจากการสูดฝุ่นควันสะสม ทยอยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น ที่โรงพยาบาลลานนา มีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษหมอกควัน โดยเฉพาะโรคหอบหืด โรคผิวหนัง ภูมิแพ้ และระบบทางเดินหายใจ เข้ารับการรักษาเพิ่มมากขึ้นจากช่วงปกติกว่าร้อยละ 10

นายแพทย์อภินันท์ ตันติวุฒิ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลานนา ระบุว่า ปัญหามลพิษปีนี้ค่อนข้างรุนแรง แต่ชาวเชียงใหม่ตระหนักและตื่นตัวกับ PM 2.5 ค่อนข้างน้อย จึงไม่ค่อยเห็นใครใส่หน้ากาก N 95 ป้องกัน PM 2.5 มากเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับประชากรในกรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่ยังใช้หน้ากากธรรมดาซึ่งกันฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้ แต่แนะนำว่าหากจำเป็นก็ควรใช้หน้ากากแบบธรรมดาซ้อนกัน 2 ชั้น

นายแพทย์อภินันท์ ชี้ถึงอันตรายของฝุ่น PM 2.5 ว่าสามารถแทรกซึมเข้าไปในอาคารได้  จึงต้องใส่หน้ากาก N 95 ให้ถูกต้อง ปิดสนิทกระชับกับใบหน้า เพราะหากใส่ผิดก็ไม่แตกต่างกับการใส่หน้ากากแบบธรรมดา ขณะที่การหลีกเลี่ยง PM 2.5 ที่ดีที่สุด คืองดทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะ PM 2.5 มีความอันตรายสูง สามารถทะลุทะลวงหลอดลมเข้าไปสู่ถุงลมข้างในลึกๆ ได้ จึงกระตุ้นให้โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพองกำเริบ

ขนาดที่เล็กกว่ารูขุมขน ยังทำให้ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 สามารถดูดซึมเข้าตามชั้นผิวหนังของมนุษย์ กระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผื่นขึ้น และ ทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ หากฝุ่นขนาดเล็กนี้เข้าไปสู่ถุงลม ก็สามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ หากรับเข้าไปในปริมาณมาก เชื่อว่าจะกระทบต่อระบบการเผาผลาญ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา การสวมใส่เสื้อแขนยาวจึงช่วยป้องกันพีเอ็ม 2.5 ไม่ให้ดูดซึมเข้าผิวหนังได้ในระดับหนึ่ง

นายแพทย์อภินันท์ แนะนำว่า การหลีกเลี่ยง PM 2.5 ที่ดีที่สุด คือ พยายามใช้เวลาอยู่ในที่โล่งให้สั้นที่สุด เพื่อป้องกันตัวเอง ขณะที่แพทย์ในกลุ่มที่มีความเชื่อด้านพิษวิทยาค่อนข้างสุดโต่ง มองว่า อาจจะกระทบกับภาวะที่ทำให้อายุไขเฉลี่ยของมนุษย์ลดลง แต่หลักฐานทางการแพทย์ยังไม่ชัดเจน ต้องรอผลการศึกษาหลังจากนี้ 10 ปี





 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาติทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก